บทสวดมนต์วันออกพรรษา 2566 อธิษฐานจิตรับบุญกุศลใหญ่

"วันออกพรรษา" ถือเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม 2566 หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย ในวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนจะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศล ส่วนพระสงฆ์จำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาล (3 เดือน) และวันถัดไปเป็นวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยนิยมไปทำบุญตักบาตร เรียกว่าบุญเทศกาลบาตรเทโว

วันออกพรรษาทำอะไรบ้าง?

สำหรับปุถุชนชาวบ้านทั่วไปจะมีการบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งของที่ชาวบ้านนิยมนำไปใส่บาตรในวันออกพรรษา คือ ข้าวต้มมัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศล "ตักบาตรเทโว" ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 อีกทั้งในกลุ่มชาวไทยและชาวลาวริมฝั่งแม่น้ำโขง เชื่อว่าในช่วงวันออกพรรษา จะเกิดปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคขึ้นในเวลากลางคืน ที่จังหวัดหนองคายอีกด้วย จึงเกิดเป็นประเพณีบุญบั้งไฟ ที่สืบเนื่องมาจากความชื่อและศรัทธาคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

บทสวดมนต์วันออกพรรษา

วันออกพรรษาจึงถือเป็นวันพระใหญ่ที่เหมาะแก่การสวดมนต์ เป็นการเพิ่มพลังด้านบวกแก่ตนเอง และสามารถแผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ได้ เทพเทวดาก็ได้รับบุญกุศลด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งสามารถลดลัดตัดกรรมแก่เจ้ากรรมนายเวร เป็นอโหสิกรรม ไม่ผูกพันผูกเวรกันต่อไป การสวดมนต์เป็นภาวนามัย เป็นบุญที่สำคัญอย่างยิ่ง ประการหนึ่ง

บทกราบพระรัตนตรัย

ขณะก้มกราบให้นึกมโนภาพตนก้มกราบพระรัตนตรัย ด้วยกายและใจที่บริสุทธิ์ ให้เกิดความซาบซึ้งในจิตในใจ

 บทสวดมนต์วันออกพรรษา 2566 อธิษฐานจิตรับบุญกุศลใหญ่

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)

บทนมัสการพระพุทธเจ้า

ขณะสวดให้น้อมจิตระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ พระกรุณาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระปัญญาคุณ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

บทไตรสรณคมน์

สวดเพื่อประกาศตนเป็นชาวพุทธรับ เอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิฯ

คำสมาทานศีล ๕

เพื่อชำระกาย วาจา ให้บริสุทธิ์ ก่อนสวดมนต์ชำระใจ

ปาณาติปาตา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. อะทินนาทานา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. มุสาวาทา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย

บทสวดอิติปิโส สวดเพื่อรำลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ มีอานิสงส์ทำให้จิตเลื่อมใสน้อมไปในการละชั่ว ทำดี ชำระจิตให้ผ่องใส

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกวิทู อะนุตตะโร ปุริสทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชลิกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.

กำหนดจิตทำสมาธิ ๑๐ นาที จากนั้นให้กล่าวคำแผ่เมตตาแก่ตนเอง แก่สรรพสัตว์ และกล่าวอุทิศส่วนบุญตามลำดับ ดังนี้

คำแผ่เมตตาแก่ตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข

นิททุกโข โหมิ ปราศจากความทุกข์

อะเวโร โหมิ ปราศจากเวร

อัพยาปัชโฌ โหมิ ปราศจากอุปสรรคอันตราย และความเบียดเบียนทั้งปวง

อะนีโฆ โหมิ ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ

สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ รักษาตนให้รอดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด.

คำแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย

อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้พยาบาท เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขๆ เถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้รอดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

กราบลาพระ

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)

อย่างไรก็ตามการสวนมนต์ไม่ได้บังคับหรือจำกัดว่าจะต้องทำในช่วงวันพระ หรือวันสำคัญเพียงเท่านั้น เพราะการสวดมนต์จะช่วยสร้างพลังสติ พลังสมาธิ เสริมจิตให้เข้มแข็ง ทำจิตให้สงบ ไม่ว่าจะสวดเป็นประจำก่อนนอนทุกวัน หรือสวดมนต์เช้า วันไหน เวลาใด ก็เป็นการดี เป็นการเพิ่มพลังด้านบวกแก่ตนเองได้

ขอบคุณข้อมูลจากสำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์และบทสวดมนต์ วิปัสสนากรรมฐาน ภาพจาก Shutterstock และ PPTV