การศึกษาใหม่พบ “แก่นโลก” มีอาการ “โยกเยกสั่นไหว” ทุก ๆ 8.5 ปี

โลกของเราประกอบไปด้วยชั้นต่าง ๆ ตั้งแต่เปลือกโลก (Crust), เนื้อโลก (Mantle) และแก่นโลก ซึ่งในส่วนของแก่นโลกก็จะแบ่งเป็นแก่นโลกชั้นนอก (Outer Core) ที่เป็นของเหลว และแก่นโลกชั้นใน (Inner Core) ที่เป็นของแข็ง

แก่นโลกมีความสำคัญมาก เพราะเป็นตัวกำหนดพลวัตทางธรณีฟิสิกส์บางส่วนของโลก เช่น ความยาวในแต่ละวันของโลก รวมถึง “สนามแม่เหล็กโลก” ซึ่งช่วยปกป้องมนุษยชาติจากรังสีอันตรายที่ปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์

ยานสำรวจนาซาเตรียมเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในประวัติศาสตร์

นักวิทย์คุยกับวาฬหลังค่อมสำเร็จ วางรากฐานการสนทนากับมนุษย์ต่างดาว

แก่นโลกชั้นใน “หยุดหมุน-เปลี่ยนทิศ” เรื่องปกติหรือสัญญาณอันตราย?

แต่ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ในประเทศจีนได้ค้นพบว่า ทุก ๆ 8.5 ปี แก่นโลกชั้นในจะเกิดการโยกเยกสั่นไหวรอบแกนหมุน (Rotation Axis) โดยอาจเกิดจากความไม่เข้าร่องเข้ารอยกันระหว่างแก่นโลกชั้นในกับเนื้อโลก

การศึกษานี้ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ที่ผ่านมาในวารสาร Nature Communications ระบุว่า การสั่นไหวรอบแกนหมุนทำให้แก่นโลกชั้นในเกิดการเอียงเล็กน้อย คล้ายกับลูกข่างที่เวลาหมุนบางครั้งเกิดการสั่นไหวโคลงเคลง

ทีมวิจัยตั้งสมมติฐานว่า ความเอียงดังกล่าวในที่สุดอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปร่างและการเคลื่อนที่ของของเหลวในแก่นกลางชั้นนอก ซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กโลกได้

เพื่อให้เข้าใจการทำงานภายในของแก่นโลก ห่าว ติง นักวิจัยธรณีฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น และทีมวิจัย ได้เริ่มการศึกษาในปี 2019 โดยวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของแกนหมุนของโลกที่สัมพันธ์กับเปลือกโลก ซึ่งเรียกว่า การหมุนเชิงขั้ว (Polar Rotation)

ทีมวิจัยตรวจพบความเบี่ยงเบนเล็กน้อยในการเคลื่อนที่เชิงขั้วซึ่งเกิดขึ้นประมาณทุก ๆ 8.5 ปี ซึ่งบ่งชี้ว่าอาจมี “การโยกเยกของแก่นโลกชั้นใน” คล้ายกับการโยกเยกของลูกข่าง

ทีมวิจัยได้ยืนยันวัฏจักรนี้เพิ่มเติม โดยการวัดการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ในความยาวของแต่ละวันทั่วโลก และเปรียบเทียบกับความแปรผันของการเคลื่อนที่เชิงขั้วที่พวกเขาเคยทำมาก่อน

ห่าว ติง บอกว่า ข้อมูลของพวกเขาชี้ให้เห็นว่า การโยกเยกนี้น่าจะเกิดจากการเอียงที่ต่างกัน 0.17 องศาระหว่างแก่นโลกกับเนื้อโลก ซึ่งสวนทางกับทฤษฎีการหมุนของโลกแบบดั้งเดิมที่สันนิษฐานว่า “แกนหมุนของแก่นโลกชั้นในและแกนหมุนของเนื้อโลกนั้น ‘ตรงกัน’”

ทีมวิจัยได้ตัดอิทธิพลของชั้นบรรยากาศ มหาสมุทร และอุทกวิทยาที่อาจทำให้เกิดการเบี่ยงเบนในการเคลื่อนที่เชิงขั้ว นอกเหนือจากการโยกเยกของแก่นโลกชั้นใน อย่างไรก็ตาม เป็นการยากที่จะยืนยันว่าปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้มีส่วนร่วม เนื่องจากต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญหลายประเภทในการรวบรวมการวิเคราะห์ที่ทำในการศึกษานี้

ทั้งนี้ การค้นพบนี้สามารถช่วยให้นักวิจัยเข้าใจพลวัตระหว่างแก่นโลกชั้นในกับกระบวนการที่ส่งผลกระทบต่อมนุษยชาติ ตั้งแต่แผ่นดินไหวไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กโลก

เรียบเรียงจาก Live Science

อวสานเลี้ยงปีใหม่! ลูกจ้างตีกันเจ้านายสั่งปิดงาน คำพูดจาก สล็อตเว็บไซต์โดยตรง

12 บทสวดมนต์ข้ามปี ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2567

 การศึกษาใหม่พบ “แก่นโลก” มีอาการ “โยกเยกสั่นไหว” ทุก ๆ 8.5 ปี

สรุป #เบียร์เดอะวอยซ์ ปมร้อนส่งท้ายปี 2566 ถูกโยงดราม่าแอบแซ่บ!